Sparkly Santa Hat Ice Cream

บันทึกการเรียน

บันทึกการเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 12 วันอังคาร ที่ 19  มีนาคม 2559

         สัปดาห์นี้ เป็นสัปดาห์เป็นสัปดาห์แห่งการดุเดือดกันเลยทีเดียว เพราะเป็นการสอบไฟนอล ส่งงานทุกชิ้น ทั้งหมด รวมทั้งฟอนต์โปรเจคสุดท้ายด้วย ในวันขอสอบก็ไม่ง่าย แล้วก็ไม่ยาก อยู่ที่ประสบการณ์ในการทำงานในโปรแกรมและทักษาะในการฝึกฝนล้วนเลย
         และแล้วก็ผ่านไปด้วยดีเลย ปิดครอสจริงๆแล้วนะ ...




บันทึกการเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 11 วันอังคาร ที่ 29  มีนาคม 2559

       สัปดาห์นี้ เป็นสัปดาห์แห่งการค้าขาย วันนี้อาจารย์ให้ นำงานที่จะขายในวันพรุ่งนี้มาตรวจเช็คเพื่อความเรียบร้อย  งานที่รับมอบหมายคือ ไปเตรียมการจัดร้าน จัดของ และเตรียมตัวขายในวันพรุ่งนี้




บันทึกการเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 10 วันอังคาร ที่ 22  มีนาคม 2559

       สัปดาห์เป็นสัปดาห์สุดท้ายในการสอน สัปดาห์จะเป็นการจัดงาน Gift On The Moon  อาจารย์ ให้ Present  งานที่จะนำไปขายในสัปดาห์ถัดไป  ให้คำแนะนำต่างๆ อาจารย์   ได้แจ้ง การสอบและปิดคอร์สการเรียนการสอน แป๊บเดียวเองก็จะปิดแล้ว  สอบหลังจากสงกรานต์ สอบวันที่ 19 เม.ย 59  
       วันนี้อาจารย์สอนเทคนิคเพิ่ม เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือในฟอนต์แลป

การบ้าน ครั้งที่ 10  วันอังคาร ที่ 22 มีนาคม 2559
   
       - แก้ไขฟอนต์ประกวด
       - ทดสอบฟอนต์ นำฟอนต์ลายมือของเราเองมาใช้



บันทึกการเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 9 วันอังคาร ที่ 15  มีนาคม 2559

          สัปดาห์นี้ดิฉันป่วย จึงไม่ได้ไปเรียน แต่ว่าฝากเพื่อนส่งงานพรีเซต์ให้ และก็สอบถามรายละเอียดการเรียนของวันนี้กับเพื่อน ได้ความว่า วันนี้มีการพรีเซนต์งาน กลุ่มตามที่อาจารได้สั่งไว้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
          การเรียนการสอนในสัปดาห์นี้ อาจารย์สอนการ Save font info การใส่รายละเอียดในการเซฟฟอนต์

สินค้าตัวอย่างฝากเพื่อนไปพรีเซนต์วันนี้




อาจารย์ให้คำแนะนำว่า สีสันจันทรา ยังดูไม่ค่อยเข้ากับคอนเซพงาน มันมีแค่สีเดียว ให้ลองไปปรับปรุงแก้ไขมาใหม่

การบ้าน ครั้งที่ 9  วันอังคาร ที่ 15 มีนาคม 2559

- สัปดาห์นี้มีเพียงให้กลับไปแก้ไขงานกิ๊ฟ ให้ดีกว่าเดิม





บันทึกการเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 8 วันอังคาร ที่ 8 มีนาคม 2559


        สัปดาห์นี้เป็นการ Present งาน Gift On The Moon ของแต่ละกลุ่ม การรายงานครั้งนี้เป็นครั้งแรกเลยของวิชานี้ อาจารย์มีลูกเล่นพิเศษในการ Present งานไมให้น่าเบื่อ โดยทำตามวิธี ดังต่อไปนี้

   (ชื่อกลุ่ม) พร้อมรายงานและค่ะ/ครับ  " ปรบมือ ตามจังหวะ 12345 12345 (ชื่อกลุ่ม)ตามด้วยสโลแกน พร้อม!!!
เป็นที่สนใจของทุกคน เพื่อนๆทุกคนต่างพากันยิ้มและหัวเราะ ชอบอกชอบใจ อาจารย์ท่านก็หัวเราะ อาจารย์บอกว่า วันที่า จัดงานจริง ก็ต้องทำแบบนี้ด้วย แบบว่าพออาจารย์เดินมาแล้วคือต้องพร้อม แล้วก็พูดพร้อมๆกัน
การแนะนำสินค้ามาขายอจารย์แนะนำให้ดูเป้าหมายในการขาย ว่าจะขายให้ใคร

คำแนะนำของอาจารย์ในการนำเสนองาน
      1. Logo กลุ่ม
      2. ความหมาย และที่มาของโลโก้
      3. หัวข้องานของแต่ละคนให้ทำไฟล์รายงาน ใน Google doc โดยเรียงตามชื่อ และรูป พร้อมรายละเอียดสินค้าของแต่ละคน
      4. ในการออกแบบ  อาจดึงเอาจุดเด่นของจันทรเกษมเข้ามาใส่ด้วยก็ได้
      5. ตีความหมายของตรีมงานให้เข้าใจ
      6. ภายในงานอาจมีการทำให้ดู หรือมีอุปกรณ์ในการทำให้ลูกค้าดู
      7. ในหนึ่งกลุ่มต้องมีประเภทสินค้า แต่ละอย่างตามจำนวนสมาชิก

การเสนองานวันนี้

   

งานใหม่สัปดาห์นี้คือ ทำฟอนต์ประกวด 10 คะแนน
   
        โดยให้มีลักษณะ ฟอนต์ที่สื่อถึงความเป็นไทย อาจใช้เทคนิคการบากลาย การใช้เส้นโค้ง หรือการนำเอาลายไทยมาประยุกต์ โดยให้ทำ   ก-ฮ  สระวรรณยุกต์และเลขไทย   ก่อนส่งประกวดต้องให้อาจารย์ตรวจก่อน


การบ้าน ครั้งที่ 8  วันอังคาร ที่ 8 มีนาคม 2559

- สร้างฟอนต์ชุดใหม่ที่สื่อถึงความเป็นไทย ก-ฮ สระวรรณยุกต์และเลขไทย
- ให้นำฟอนต์ลายมือของเราเอง ไปทำเป็นภาพประกอบหรือจะเป็นข้อความอะไรก็ได้ ที่ให้เห็นการใช้งานจริงและประสิทธิภาพในฟอนต์ของเราได้ 2 คอลัมน์
- ทำวู้ดบอร์ดมานำเสนองานใหม่ในสัปดาห์หน้า โดยทำเสนอสินค้ามาเพียงอย่างเดียว

- แก้ไขลายเสื้อใหม่









บันทึกการเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 7 วันอังคาร ที่ 1 มีนาคม 2559  

        สัปดาห์นี้อาจารย์นัดสอบมิดเทอม ทุกคนต่างตื่นเต้นไปตามๆกัน บททดสอบแรกเป็นแบบปรนัย ในข้อสอบก็ถามเกี่ยวกับการเรียนนั่นแหละ แล้วก็เครื่องมือ และคำสั่งในโปรแกรม Fontlab ดูเหมือนจะง่ายนะ แต่เอาเข้าจริง จำไม่ได้หรอกว่าแต่ละคำสั่งใช้ทำอะไร เพราะเวลาทำใช้ทักษะการจำตำแหน่งเอาว่าต้องกดตรงไหนบ้าง ผ่านไปไวเหมือนโกหก เวลา 30นาที คะแนนเต็ม 59 คะแนน ฉันทำได ้29 เหลืออีกคะแนนเดียวก็ผ่านแล้ว 555 แต่ไม่เป็นไรค่ะ เพราะทั้งห้องมีคนผ่านแค่คนเดียว หลังจากทำข้อสอบออนไลน์ ปรนัยเสร็จแล้ว อาจารย์ก็มีโจทย์ ให้ทำข้อสอบปฏิบัติอีก โจทย์ มีอยู่ว่า
   - ให้เปิดโปรแกรม Fontlab >flie>new ออกแบบตัวอักษรไทยให้มีคุณลักษณะเป็นไทยร่วมสมัย
     โดยใช้ตัวอักษรคือ   "โบั๊กฏู"  
   - ส่งเป็นไฟล์ ttf. และ Capture หน้าที่ Test ตัวอักษรด้วย แล้วส่งใน Google Classroom
   - เขียนชื่อไฟล์   ชื่อเรา-midterm


          หลังจากสอบเสร็จ อาจารย์อธิบายงานเพื่อนำไปแก้งานเก่าที่สั่งไป    แล้วก็สั่งให้ไปดูข้อมูลใน www.Contestwar.com ของศิลปกร เป็นงานประกวดที่มีผู้แข่งขันหลายช่วงวัยโดยอาจารย์ให้ลงประกวดด้วย ในระดับมหาวิทยาลัยซึ่งต้องไปแข่งกับสถาบันอื่นด้วย
หัวข้องาน คือ ให้ออกแบบอักษรสื่อถึงความเป็นไทย ก-ฮ และสระรวมทั้งเลขไทย เงินรางวัลชนะเลิศ 3 หมื่นบาท รองลงมา 3 ตำแหน่ง รางวัลละหนึ่งหมื่นบาท

การบ้าน ครั้งที่ 7  วันอังคาร ที่ 1 มีนาคม 2559


  1. ทำวู้ดบร์อดของงานกลุ่มงาน Gift เตรียมพรีเซ้น
  2. ออกแบบตัวอักษรลายไทย ที่จะส่งประกวด
  3. แก้ไขงานฟอนต์ลายมือให้ถูกต้อง ตามแบบแผน
  4. ทำรายงานส่งและปริ้นเทสตัวอักษรลายมือ










บันทึกการเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 6 วันอังคาร ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2559

         สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์ที่สามสำหรับการรายงานแปลสรุปบทความฟอนต์  แต่เหตุการณ์ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้นเนื่องจาก เพื่อนคนที่จะมารายงานต่อจากลำดับของเพื่อนสัปดาห์ที่แล้ว ดันไม่มาเรียนซะงั้น ผลกรรมเลยตกเป็นของเพื่อคนถัดไปเรื่อยๆ เพราะอาจารย์เรียกตามลำดับ รายงานไปได้ 2 คน ยังขาดเพียงอีกคนเดียวเท่านั้น แต่แล้วก็ไม่มีใครเตรียมมาเลย 0 กันหมดเลย และผู้โชคดีในวันนี้ที่ได้รายงานเป็นสัปดาห์สุดท้าย คือ

  1. นายธนพล ดำขำ ชื่อฟอนต์ Intro rust ผู้ออกแบบ Ari Petrova , Svetoslay simo
  2. นายชัยธัช ภิญโญ  ชื่อฟอนต์ Lombok typeface  ผู้ออกแบบ Jeft Trish
วันนี้อาจารย์ สอนและอธิบายเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือ ใน Fontlab ว่ามีอะไรบ้าง ใช้งานอย่างไร
  • วิธีการสร้างฟอนต์ลายมือ Glyph คือการออกแบบตัวอักษร
  • Open stall คือการเอาไฟล์มาแก้แล้วแปลงเป็น Font
  • Menu bar แถบข้างบน
  • ในการทำงานเราต้องรู้จัก รหัสและโค๊ดของฟอนต์
  • การเซฟงานเป็น Vfb. เป็นไฟล์เฉพาะ เปิดได้เพียงโปรแกรมของมันเท่านั้น
  • อาจารย์สอนวิธีการจัดช่องไฟ และกำหนดความสูงความกว้างของตัวอักษรใน Fontlab
  • สอนวิธีการ Save ไฟล์งานเป็นไฟล์ ttf.
เนื่องจากสัปดาห์หน้าอาจารย์ติดธุระ สัมมนาต่างจังหวัด และอีกสัปดาห์ถัดไปวันมาฆบูชาทำให้ไม่มีกรเรียนการสอน 

การบ้าน ครั้งที่ 6  วันอังคาร ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2559

1. งานกลุ่ม Gift on the moon
  • ตั้งชื่อกลุ่มพร้อมออกแบบ Logo ของกลุ่มชา 
  • มีใครบ้าง พร้อมใส่รูป
  • สร้างกลุ่มในไดร์เพื่อส่งงาน แล้วแชร์ให้อาจารย์ด้วย
  • ตั้งชื่อ  ชื่อกลุ่ม-GiftOnTheMoon59
  • คิดด้วยว่าจะทำแพ็คเกจอย่างไร
2. แก้ไขตัวอักษร ใน Fontlab จากงานที่ได้สั่งเมื่อสัปดาห์ที่ 4 ให้เสร็จ  จากนั้นส่งใน Google classroom
3. บันทึกขั้นตอนการทำทั้งหมด ของการทำงานใน Fontlab ลงในไดร์และส่งใน Google classroom






บันทึกการเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 5 วันอังคาร ที่ 26 มกราคม 2559

        สัปดาห์นี้อาจารย์ไม่ได้เข้าสอนเนื่องจากไปสัมนาต่างจังหวัด แต่อาจารย์สั่งให้ประชุมกันระหว่างสมาชิกในกลุ่ม  โดยให้ปรึกษางาน Gift on the moon โดยช่วยกันนำเสนอไอเดีย ว่าอยากทำอะไรกันบ้าง   ทำใน concept อะไรดี กลุ่มดิฉันได้ปรึกษากันว่าจะทำชิ้นงาน ใน Concept แนวอาร์ตๆเกี่ยวกับเครื่องหนัง  
สมาชิกในกลุ่มมีดังนี้

  1. นางสาว ยุวดี                    บุสดีวงศ์             5711312206
  2. นาย ชัยธัช                       ภิญโญ               5711307057
  3. นางสาว ดาราวลัย           นิลมณี               5711306893
  4. นาย ณัฐวัตร                     ศรีวิพัฒน์           5711312453
  5. นางสาว กมลวร               บุญพันธุ์             5711306869
  6. นางสาว ธณพัชสรวง     อธิษฐ์นวัต         5411307373



     

บันทึกการเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 4 วันอังคาร ที่ 26 มกราคม 2559

       สัปดาห์นี้เป็นสับปดาห์ที่สองของการรายงานการแปลบทความฟอนต์ ผูโชคดีในสัปดาห์นี้คือ

  1. ดาราวลัย ชื่อฟอนต์ Frutiger  ผู้ออกแบบ Adrian Frutiger
  2. เบญจวรรณ ชื่อฟอนต์  Luella ผู้ออกแบบ Cindy kinash
  3. วรรณิศา   ชื่อฟอนต์ Avaline  ผู้ออกแบบ Kimmy kirkwood
วันนี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับ Keyboard หรือที่เราเรียกว่าแป้นพิมพ์  มี Layout แบบไหน ,ปุ่มฟังก์ชั้นมีอะไรบ้าง ,คีย์ลัด


เรื่องง่ายๆที่คุณควรรู้ รู้หรือไม่ว่าบนคีย์บอร์ด มีโค้ดที่คนออกแบบได้วางมาฆเอาไว้แล้ว คือ QWERTY 


         จากนั้นอาจารย์ได้แบ่งกลุ่มการทำงาน   Gift on the moon โดยหลักการในการ
แบ่งกลุ่มในวันนี้คือคนที่นั่งใกล้กันจะไม่ได้อยู่ด้วยกัน 555 อาจารย์ให้นับเลข 1-6 ใครนับเลขเหมือนกันก็อยู่ด้วยกัน รายละเอียดของการทำโปรเจคนี้มีอยู่ว่า
  • คิดสินค้ามาคนละ 1 อย่าง
  • สืบค้นข้อมูลของชิ้นงานที่จะทำ
  • สินค้า 80 % ต้องเป็นส่วนของตัวอักษร
  • จัดการประชุมกลุ่มและถ่ายรูป พร้อมทั้งมีการบันทึกการประชุมในแต่ละครั้ง
เว็บไซต์แหล่งข้อมูลที่สามารถเข้าไปศึกษาเพื่อเป็นแนวทางในการทำ ที่อาจาร์ยได้แนะนำมา คือ




การบ้าน ครั้งที่4  วันอังคาร ที่ 26 มกราคม 2559


  1. ให้นำฟอนต์ที่ทำใน Ai ในการบ้านของสัปดาห์ที่แล้ว มาทำและจัดวางในโปรแกรม Fontlab Studio ให้เวลาในการทำงานทั้งหมด 2 สัปดาห์ และให้ดูรายละเอียดในคลิปที่อ.ได้ให้บันทึกไว้ในคาบเรียน






     

บันทึกการเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 3 วันอังคาร ที่ 19 มกราคม 2559
            
            ก่อนจะเริ่มเรียนวันนี้อาจารย์ได้มีข้อแนะนำในการเรียนกับอาจารย์  อาจารย์บอกว่าอาจารย์เป็นคนสอนเร็ว เนื่องจากวิชานี้เนื้อหาค่อนข้างเยอะ หากไม่เข้าใจอะไรตรงไหนให้ถามเลย คำอธิบายรายวิชาก็ควรไปอ่านให้เข้าใจ เพื่อจะได้รู้และเข้าใจกับวิชานี้มากขึ้น
            สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์แรกในการนำเสนอข่าว การแปลบทความของฟอนต์ ที่อาจารย์ได้สั่งไว้ในสัปดาห์ก่อนนี้   การนำเสนองานของเพื่อนในวันนี้มีด้วยกัน 3 คนคือ
คนแรก คือ ณัฐณาวี รายงานข่าวฟ้อนเรื่อง scrapbookre    
คนที่ 2 คือ ดลวรรณ รายงานเรื่อง triump rough
คนที่ 3 คือ กมลวร รายงานข่าวฟ้อนเรื่อง drina
หลังจากที่เพื่อนรายงานเสร็จ อาจารย์ก็ได้แนะนำข้อเสนอแนะของการรายงานว่าควรเพิ่มเติมอะไรบ้าง อาจารย์บอกว่าก่อนมารายงานต้องศึกษาข้อมูลมาเข้าใจก่อน หาข้อมูลที่สำคัญ ที่เกี่ยวกับฟอนต์ที่นำมาเสนอ ดังนี้

  • ฟอนต์นี้มีชื่อว่าอะไร 
  •  Concept ในการออกแบบคืออะไร 
  • ใครเป็นผู้ออกแบบ
  • ฟอนต์นี้มีกี่แบบ
  • แต่ละตัวมีลักษณะอย่างไร
  • ราคาเท่าไหร่

เป็นต้น
         หลังจากนั้นอาจารย์ก็ได้สอนถึงการจัดหน้า ตั้งค่าหน้ากระดาษบนบล็อกในการทำรายงานโดยกำหนดค่าดังนี้
บน = 3.81
ล่าง = 2.54
ซ้าย = 3.81
ขวา = 2.54
และสอนเทคนิคและวิธีการดังนี้
  • วิธีการเพิ่มผู้ดูแลบล๊อก โดยการเพิ่มMail อีกหนึ่งชื่อลงในบล็อก ให้เป็นผู้ร่วมดูแล
  • ตัวอย่างวิธีการแปลงไฟล์ภาพตัวอักษรที่เราได้แสกนไว้ ให้ไฟล์เวกเตอร์ โดยทำในโปรแกรม Adobe lllustrator และการจัดแต่งตัวอักษรที่แปลงมาแล้วให้ดูคมชัดและสมบูรณ์มากขึ้น

บันทึกการเรียนการสอนการบ้าน ครั้งที่3  วันอังคาร ที่ 19 มกราคม 2559

1.ให้นำภาพตัวอักษรที่เราแสกนไว้ ให้นำไปแปลงเป็นไฟล์เวคเตอร์ โดยใช้โปรแกรม Adobe lllustrator แล้ว Save งานเป็นไฟล์ Ai  จากนั้นส่งไว้ในไดร์ Foder ที่อาจาร์ยสร้างไว้
2. ให้บันทึกและแสดงวิธีการทำทุกขั้นตอน ลงในไดร์ และส่งใน google classroom ที่อาจาร์สร้าง Foder ไว้ให้









บันทึกการเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 2 วันอังคาร ที่ 12 มกราคม 2559

         สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์ที่อาจารย์นัดสอบ Pretest  แต่ก่อนสอบอาจารย์ก็ได้สอนก่อน วันนี้อาจารย์พูดเรื่องอะไรบ้าง นี่เลย
- การใส่ข้อมูลในบล็อก  โดยให้ใส่ชื่อบล็อก  "Artd2304 Typeface Design"
  และใส่คำอธิบายบล็อก   "เว็บบล็อกบันทึกการเรีนรู้วิชา ออกแบบตัวอักษรเพื่อการพิมพ์ Artd2304 "
- การแชร์ข้อมูลใน Google Drive
- การแปลสรุปบทความ สำหรับการเตรียมตัวออกไปเสนอหน้าชั้นเรียน โดยนำบทความภาษาอังกฤษมาแปลเป็นภาษาไทย เนื้อหาเกี่ยวกับฟอนต์
       ตัวอย่างที่อาจารย์ นำมาให้ดู
https://docs.google.com/document/d/1oI8IOi4_DNRZGXBDt6h3IjPlFC568n9NIQqdLkcrc6E/edit

         จากนั้นก็ทำการสอบ Pretest โดยสอบ 2 Part  
- Part 1 ให้สอบออนไลน์  http://www.thaiteachers.info/claroline/       อาจารย์ได้สร้างกลุ่มไว้แล้วและจะกำหนดเวลาในการทำแบบทดสอบ 20 นาที เมื่อหมดเวลาอาจารย์จะปิดโหวตทันที ฮ่าๆๆ
- Part 2 สอบภาคปฏิบัติ โดยให้โจทย์ดังนี้
          ออกแบบตัวอักษรในลักษณะของ Pypography หรือ Lettering Design ของคำว่า

  1. ภาษาไทย "รักจันทรเกษม"
  2. ภาษาอังกฤษ "We Love Chandrakasem"
ใช้โปรแกรมอะไรก็ได้ที่ทำแล้วเป็นไฟล์ Vector หน้ากระดาษขนาด A4  ดิฉันใช้โปรแกรม Iiiustrator




เมื่อทำเสร็จแล้วให้กดแชร์ลงใน Google Drive ในกลุ่มที่อาจารย์สร้างไว้ให้ กลุ่ม Pretest




การบ้าน ครั้งที่2  วันอังคาร ที่ 12 มกราคม 2559

1.  ทำแบบฝึกหัด 3 ชุด รายละเอียดดังนี้
เขียนฟอนต์เป็นลายมือของตนเองและคนอื่น ก-ฮ, A-Z, สัญลักษณ์    โดยแบ่งเขียนเป็น 3 ช่วงวัย   
  1. เด็ก    (เด็กโต)   6-11 ปี
  2. วัยรุ่น  (ตัวเรา)    12-20 ปี
  3. ผู้ใหญ่ (บุคคลวัยทำงาน)   21-60 ปี
#เขียนให้อยู่ภายในเส้นที่อาจารย์กำหนด จะมีเส้นบางๆ และตัวอย่างความสูงของฟอนต์ด้านซ้ายมือ
เมื่อทำเสร็จแล้ว ให้นำไปแสกนที่ค่าความละเอียด 300 .dpi แล้วแชร์ลงใน Google Drive 


ในกลุ่ม handwrite
           
2. หาความหมายของคำว่า

font
type
typeface
character
alphabet

3. ค้นหาบทความภาษาอังกฤษ มาแปลสรุปเป็นภาษาไทย 3 บทความ เตรียมตัวในการนำเสนอหน้าชั้นเรียน อาจารย์ตั้งกติกาไว้ว่า จะให้นำเสนอสัปดาห์ละ 3 คน โดยเรียงตามลำดับเลขที่



     




  


บันทึกการเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 1 วันอังคาร ที่ 5 มกราคม 2559

          สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์แรกของวิชานี้  อาจารย์ยังไม่ได้สอนเนื้อหามากนัก อาจารย์บอกถึงรายละเอียดเบื้องต้นในวิชานี้ว่าเรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง แนะนำถึงข้อมูลเพิ่มเติมที่สามารถศึกษาเพื่อมาประกอในการเรียนของวิชานี้
          การเรียนวิชานี้เป้นการเรียนรู้ที่มีวิธีการสอนแบบแปลกใหม่ น่าตื่นเต้นดีเพราะมีสิ่งที่ต้องค้นหาในสิ่งที่เรายังไม่รู้ และยังไม่เข้าใจอีกหลายเรื่องเลย  อาจารย์สอนในสัปดาห์นี้จะมีประมาณนี้ค่ะ
วิชานี้ชื่อวิชา การออกแบบตัวอักษรเพื่อการพิมพ์ ( Lettering Design) ARTD2304 

font คืออะไร  
หมายถึง ตัวอักษรที่ต่างกันทั้งแบบและขนาด มีไว้ให้เลือกมากมายเพื่อให้เหมาะกับงานพิมพ์ประเภทต่าง ๆ เช่น ป้ายโฆษณา การพาดหัวข่าว งานพิมพ์เอกสารต่าง ๆ แบบอักษรแต่ละแบบจะมีชื่อ เพื่อให้สะดวกในการเรียกใช้ ดูตัวอย่างข้างล่างนี้ abcd ABCD ABCD

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับฟอนต์

ความสูงของฟอนต์มีกี่ระดับ
         Font size หมายถึง ขนาดความสูงและความกว้างของตัวอักษรแต่ละตัว โดยปกติจะวัดกันเป็นจุด (points) เช่น 10 จุด 24 จุด (72 จุด เท่ากับ 1 นิ้ว) แบบตัวอักษรเหล่านี้ จะสร้างไว้ให้คมชัด เฉพาะขนาดที่แสดงให้ดู เช่น แบบอักษร "เจ้าพระยา" อาจจะ คมชัด ที่สุดที่ขนาด 14, 18, 24 จุด ฯ เป็นต้น แต่ถ้าจะ กำหนด เป็น 16, 20, 22, 26 จุด เครื่องพิมพ์ก็จะ สามารถพิมพ์ได้ แต่จะไม่คมชัดเท่าขนาดที่มีเสนอไว้

Typeface คืออะไร
         ไทป์เฟซ หรือ ฟอนต์ หรือในชื่อไทยว่า ชุดแบบอักษร[1] (อังกฤษ: typeface หรือ font) คือชุดของรูปอักขระ (glyph) ที่ได้รับการออกแบบไว้อย่างเป็นเอกภาพด้วยรูปแบบเฉพาะตัว ไทป์เฟซอาจประกอบด้วยตัวอักษร ตัวเลข เครื่องหมายวรรคตอน และอาจรวมไปถึงอักษรภาพ (ideogram) เช่นอักษรจีนหรือสัญลักษณ์ต่างๆ เช่นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์หรือทางเทคนิค

font  กับ  Typeface แตกต่างกันอย่างไร
         บุคคลทั่วไปมักใช้คำว่า ฟอนต์ (font/fount) เรียกแทนไทป์เฟซ หรือใช้เรียกสลับกัน แต่ในความจริงแล้วมีความหมายที่แตกต่างกัน ไทป์เฟซหมายถึงชุดตัวอักษรที่มีรูปแบบเดียวกัน ไม่ว่าจะมีขนาดใหญ่เล็กเท่าไร เช่น Arial, Arial Bold, Arial Italic และ Arial Bold Italic ต่างเป็นไทป์เฟซคนละชนิดกัน ส่วนฟอนต์จะหมายถึงชุดตัวอักษรที่มีทั้งไทป์เฟซและขนาดเดียวกัน ตัวอย่างเช่น Arial 12 พอยต์ก็เป็นฟอนต์หนึ่ง Arial 14 พอยต์ก็เป็นฟอนต์หนึ่ง Arial Bold 14 พอยต์ก็เป็นอีกฟอนต์หนึ่ง เป็นต้น ในการสร้างเอกสารแบบดิจิทัล ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนขนาดฟอนต์ได้เองในคอมพิวเตอร์ ทำให้ควา้้มแตกต่างของไทป์เฟซกับฟอนต์จึงลดความสำคัญลงไป

  - Type คือ ตัวพิมพ์
  - Typograpy หมายถึง การออกแบบและการใช้งานตัวอักษรเพื่อการสื่อสาร  
  - Logo type = ตัวอักรย่อ
  - Lettering Design คือ
  - Artwork คือ ต้นฉบับสำหรับส่งพิมพ์
  - อาชีพ Type Designer คือ อาชีพออกแบบฟอนต์
  - ลิขสิทธิ์เกี่ยวกับฟอนต์
  - Gmail อย่างน้อยควรมี 2 Account
  - ต้องศึกษาและทดลองใช้ App ใน google ทั้งหมดให้เป็น
  - รหัสเข้าเรียนของ Google Classroom คือ irlqog (รหัสที่ทุกคนต้องนำไปใส่)
  - Myfont.com  เป็นเว็บขายฟอนต์ของคนไทย
  - เข้าไปดูในยูทูปพิมพ์ A lesson on typography แล้วท่องไว้ซะ


  - เข้าไปดูความรุ้เรื่องฟอนต์ ได้ที่เว็บของอาจารย์ประชิด  thaifont.info
  - โปรแกรมที่ใช้สร้างฟอนต์มีโปรแกรมอะไรบ้าง เช่น Font Creator ,Font Lab Studio จากนั้นติดตั้งโปรแกรมเพื่อใช้ในการเรียน
  - รู้จักการสืบค้น ตั้งสมมติฐาน สรุป  (Design Project)


งานที่ได้รับมอบหมายในสัปดาห์นี้

     ต้องลงทะเบียนเรียนวิชาออกแบบบรรจุภัณฑ์ เข้าทำกิจกรรมออนไลน์ก่อนเข้าชั้นเรียน โดยดำเนินการคือ (ศึกษาเรียนรู้ แก้ปัญหา ประสานงานด้วยตนเองหรือเรียนรู้ด้วยกันแบบกลุ่มปรึกษา)
- ให้ทุกคนเข้าอ่าน มคอ.3 ของรายวิชาให้เข้าใจ
- ให้สมัครและใช้อีเมลของ @gmail.com
- ให้ไปขออีเมลของที่ทางมหาวิทยาลัยให้ใช้ @chandra.ac.th ขอไปในเว็บของมหาลัย หลังจากนั้นรอประมาณ 7 วัน แล้วไปติดต่อฝ่ายไอที
- ใช้อีเมลของที่ทางมหาวิทยาลัยให้ใช้ @chandra.ac.th  พร้อมใส่ภาพและข้อมูลส่วนตัวให้ครบถ้วน

     วิธีการขอ  @chandra.ac.th 

         1. เข้าเว็บมหาวิทยาลัย คลิกที่ Tab สีส้ม




          2. จากนั้นคลิกสมัครเข้าใช้   CRU google Mail

  


          3. กรอกแบบฟอร์มให้ครบถ้วนและสมบูรณ์ กดยืนยัน เมื่อการขอสำเร็จจะขึ้นหน้าต่างแบบนี้



- สร้างเว็บบล็อกของเราเองเพื่อสรุปผลสาระการเรียนรู้แต่ละสัปดาห์ โดยใช้ชื่อเว็บบล็อกตามที่อาจารย์กำหนดรูปแบบให้ เช่น artd2304-YourRealName.blogspot.com แล้วเข้ากรอกข้อมูลจริงในรายการต่อไปนี้
1.กรอกข้อมูล ลงชื่อเข้าชั้นเรียนครั้งแรกในแบบบันทึกและประเมินผลการเรียนรู้ประจำวิชา
กลุ่ม 101 ภาคปกติ
2.ลงทะเบียนในระบบอีเลิร์นนิ่ง สมัครเป็นสมาชิกระบบแล้วสมัครเข้าเรียนในวิชา เตรียมพร้อมเข้าสอบออนไลน์หรือส่งการบ้าน ในเว็บนี้ http://www.thaiteachers.info/claroline
3.ตอบแบบสำรวจศักยภาพและความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอน
ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนการเรียนในสัปดาห์ ที่ 2 หรือภายในวันที่ 11/1/2559 เวลา 16.30.น
   
การบ้าน ครั้งที่1  วันอังคาร ที่ 5 มกราคม 2559
 
     จงแปล อ้างอิง และสรุปประเด็น แล้วเรียบเรียงเป็นความเรียงความหมายเป็นของตนเองของคำว่า การออกแบบตัวพิมพ์( Type Design) โดยแปล และอ้างอิงจากเอกสาร หนังสือ ตำราภาษาอังกฤษ 2 เล่ม ภาษาไทย 3 เล่ม  เป็นเอกสารที่มีการตีพิมพ์เผยแพร่เท่านั้น รวมไม่น้อยกว่า 5 เล่มหรือมากกว่า ห้ามทำสำเนาจากอินเตอร์เน็ต โดยมีการอ้างอิงแหล่งที่มาให้ถูกต้องตามรูปแบบการเขียนอ้างอิงและเขียนบรรณานุกรมเอกสารวิชาการที่ถูกต้อง จำนวนไม่น้อยกว่า 2 หน้า บรรทัดพิมพ์เดี่ยว ( 30 บรรทัด/หน้า A4)

การส่งงาน
1.จัดพิมพ์ลงในไฟล์เอกสาร googleDoc แล้วแชร์ส่งในโฟลเดอร์ที่อาจารย์แบ่งปันให้
2.ส่งโพสลงบล็อกบันทึกผลการเรียนรู้ของตนเองพร้อมจัดหาภาพประกอบให้สอดคล้องกับสาระที่อ้างอิง
3.จัดพิมพ์เป็นเอกสารรายงานพร้อมปกที่มีการออกแบบภาพประกอบเกี่ยวกับเนื้อและความหมาย พิมพ์ไฟล์ด้วยโปรแกรมไมโครซอฟท์เวิร์ด พิมพ์สี-เข้าเล่มปกให้เรียบร้อย แบบตัวพิมพ์เนื้อหาให้ใช้แบบตัวพิมพชื่อ CRU LanChand56 ขนาดตัวเนื้อหา 16 พ้อยท์ หัวเรื่อง  20 พ้อยท์ จัดหน้าพิมพ์ตามรูปแบบเอกสารวิชาการให้ถูกต้อง

กำหนดเวลา 1 สัปดาห์ นับแต่วันที่ 18-25 มกราคม 2558
ศึกษารูปแปบบและตัวอย่างการพิมพ์และการอ้างอิงเอกสารวิชาการได้ที่ https://sites.google.com/site/artthesis/Home/document





   
    

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น